ชื่อร้านค้า พระเครื่องภูธนรินทร ฯ พระเครื่องสะท้านแผ่นดินและเพิ่อการศึกษา

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม(พิมพ์ประธาน) เนื้อขาวปูนเพชรหรือเนื้อปูนเปลื่อกหอย (ของดีนอกกำมือเซียน)

[002] พระสมเด็จวัดระฆัง : มุมมองทางด้านวิชาการ

 

พระสมเด็จวัดระฆัง : มุมมองทางด้านวิชาการ
Phra Somdej Wat Rakang in Academic Perspective

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนนต์ สิปปภากุล
 
Asst. Prof. Dr.Natdhnond Sippaphakul
D.A. ( Arts and Culture Research)
dr.natdhnondl@hotmail.comdr.natdhnond@gmail.com 
Tel. 08 5767 8008

คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ถ.สุรนารารยณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
 
 
บทนำ

ท่านทั้งหลาย ท่านคงรู้จักพระสมเด็จวัดระฆังอันโด่งดังที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์กันเป็นอย่างดีแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จริงรู้เแท้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระนิยตโพธิสัตว์เจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สร้างหรืออธิษฐานจิตพระเครื่องและวัตถุมงคลอันล้ำค่ามากน้อยเพียงใด แม้เซียนโบราณผู้เป็นปรมาจารย์ทางด้านพระเครื่องของเมืองไทยในอดีต จะได้ศึกษาค้นคว้าและรจนาออกมาทั้งแบบหลักวิชาการ ผสมผสานความพิศดาร และแสดงความคิดเห็นส่วนตนเข้าไปมากมาย จนกลายมาเป็นคัมภีร์ผูกมัดเซียนให้เดินตามอย่างดิ้นไม่ออก อย่าลืมว่า แม้เซียนโบราณท่านจะได้สะสมความรู้อย่างอุตสาหะ แต่ข้อเท็จจริงตัวท่านเองก็เกิดไม่ทันเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดังนั้น ความรู้ ความเห็นและประสบการณ์ที่ท่านมี จึงเป็นความจริงแท้เพียงส่วนหนึ่ง แต่ความจริงแท้ที่ท่านไม่สามารถค้นพบ หรือมีอคติส่วนตัว อาจทำให้ท่านมองเห็นต่างจากความจริง จนทำให้พลาดโอกาสที่จะเสนอความจริงได้ทั้งหมดหรือไม่ครบทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ การที่จะสรุปว่า ความรู้ของท่านนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว ไม่มีความรู้อื่นใดมาหักล้างได้ จึงเป็นการปิดกั้นผู้อื่นมิให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริงได้ นี้คือความจริงของการศึกษาตามหลักวิชาการ ที่ต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นสามารถต่อยอดความรู้ได้ การศึกษาใบไม้ในกำมือ ก็รับรู้ได้แค่เพียงในกำมือ หากเปิดใจศึกษาใบไม้นอกกำมือ ก็จะสามารถเปิดไปสู่ความรู้ที่กว้างไกลมากขึ้น 

พระสมเด็จวัดระฆัง ถือเป็นสุดยอดจักรพรรดิ์ของพระเครื่องในปัจจุบัน ความพิศดาร มหัศจรรย์ หรืออจินไตย ที่แฝงอยู่ในองค์พระ จึงเป็นสิ่งที่เร้นลับแห่งองค์ผู้สร้าง ผู้อยู่เหนือโลก อยู่เหนือกาลเวลา และอีกมากมาย วิสัยขององค์นิยตโพธิสัตว์เจ้า จึงอยู่เหนือการรับรู้ของปุถุชนคนธรรมดา หรือแม้แต่พระอริยสงฆ์ที่ยังไม่หลุดพ้น ก็มิสามารถเข้าไปหยั่งรู้ความจริงขององค์ท่านได้ แล้วพวกเราๆ คนธรรมดาจะไปรู้แจ้งทั้งหมดกระนั้นหรือ ผมเอง จึงพยายามเปิดพื้นที่ความรู้ออกไปสู่การศึกษาแบบใบไม้นอกกำมือ แต่ก็ยังรักษาความรู้ใบไม้ในกำมืออยู่ ด้วยวิธีการต่อยอดออกไป จะถูกจะผิดก็เป็นหน้าที่ของคนอื่นที่จะค้นหาต่อไป การศึกษาทางโลกมันก็เป็นเยี่ยงนี้ เกิดมาอีกกี่ภพกี่ชาติ จบปริญญาเอกเป็นล้านๆใบ ก็ยังเรียนไม่จบ แต่การศึกษาทางธรรมและปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สามารถเรียนจบได้... แล้วท่านล่ะ จะเลือกศึกษาแบบใด


รังสีออร่าในพระสมเด็จวัดระฆัง จากการตรวจสอบด้วยญาณในของบุคคลพิเศษ



ตอนที่ 1
พระดีนอกกำมือเซียน


       พวกเราชาวพุทธคงเคยได้ยินคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสกับเหล่าสาวกเมื่อครั้งพุทธกาลว่า ความรู้หรือธรรมะบางข้อที่พระพุทธองค์นำมาสั่งสอนพระสาวกนั้น เป็นความรู้หรือความจริงแท้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนใบไม้ที่อยู่ในกำมือของพระองค์ แต่ใบไม้ที่อยู่นอกกำมือนั้นมีอยู่มากมาย ลองหันไปดูบนต้นไม้ ในป่านี้ หรือในป่าทั้งโลก และยังมีอยู่ในจักรวาลและอนันตจักรวาลอีกมากมาย ฉะนั้น ในการศึกษาพระเครื่องหรือในเรื่องใดๆก็ตาม ที่เราเรียนรู้มาจากครูอาจารย์ จากเซียน จากคำบอกเล่า หรือจากตำราที่อ้างสืบๆกันมานั้น มันก็เป็นเพียงความรู้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง(ธรรมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ถูกต้องและเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง) แล้วนับประสาอะไรกับความรู้ของเซียนที่อ้างสืบๆต่อกันมา มันจะเป็นความจริงไปเสียทั้งหมดเช่นนั้นหรือ แล้วไฉนหลายๆท่านจึงยังคงเชื่อเฉพาะความรู้เก่าๆ โดยไม่เปิดใจไปเรียนรู้ ใบไม้นอกกำมือเซียน บ้าง บางทีท่านอาจพบกับความมหัศจรรย์ของสิ่ง(พระ)ดีๆ อย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้
       อย่างไรก็ตาม การเสนอความคิดเห็นในบทความนี้ ก็นับเป็นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้หรือ ประสบการณ์ และความมหัศจรรย์จากการปฏิบัติธรรม(ปัจจัตตัง)ของผู้เขียน จึงเป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น ขอให้ทุกท่านจงใช้สติปัญญา อย่าพึ่งเชื่อ จนกว่าท่านจะได้พิสูจน์ด้วยตัวของท่านเอง (ตามหลักกาลามสูตร) หรือจนกว่าท่านจะได้ประมวลความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงควรจะเชื่อไปตามนั้น แนวทางการศึกษาพระเครื่องจึงมีหลายแนวทาง ผู้เขียนจึงขอสรุปดังนี้ 
 แนวทางการศึกษาพระเครื่อง
 
      1. ด้านพุทธศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ คติความเชื่อและประเพณีนิยมในการสร้างพระ เช่น การสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านมีเจตนาในการสร้างพระเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา การอธิษฐานจิตทุกครั้งจึงต้องอาศัยพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี และในบางครั้งท่านอาจอาราธนาอัญเชิญพระเบื้องบนเสด็จมาร่วมในการอธิษฐานจิตด้วย (เป็นเรื่องเหนือโลกหรือเหนือความรู้ของเซียน) ฉะนั้น ผู้ใดปรามาสพระพิมพ์ที่แท้ แต่ไปกลับบอกว่าเป็นพระปลอมด้วยอกุศลจิต ย่อมถือว่า เป็นการปรามาสหรือลบหลู่พระเบื้องบน จึงนับเป็นบาปที่หนักหนามาก ขอจงพึงระวังให้มาก อย่าให้เงินมาผูกขาดอัตตาของตัวเอง จนเดินไปสู่ขุมนรก หรือความวิบัติในบั้นปลายของชีวิต

        2. ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีบางคนบอกว่า พระสมเด็จที่มีเหรียญรัชกาลที่ 5 ติดอยู่ด้านหลัง เป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่ปลุกเสกและอธิษฐานจิตโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ในการสร้างเหรียญกษาปณ์ จะพบว่ามีการสร้างเหรียญพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2417 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากสมเด็จโตมรณภาพไปแล้ว 2 ปี (2415) อีกอย่างเหรียญรัชกาลที่ห้ามีพระพักตร์แก่แล้ว หรือแม้จะมีพระพักตร์หนุ่มก็ยังไม่ทันปี 2415 อยู่ดี ฉะนั้น ในแง่ของประวัติศาสตร์จึงเป็นไปไม่ได้ว่า พระดังกล่าวจะทันสมเด็จโตเป็นผู้ปลุกเสก ประวัติศาสตร์จึงบิดเบือนไม่ได้

 3. ด้านพุทธศิลป์ จะบอกให้รู้ว่า พุทธลักษณะและศิลปะที่ปรากฏเป็นองค์พระนั้น สามารถบอกยุคสมัย และกรรมวิธีในการสร้างได้ มีร่องรอยให้ค้นหาความจริงคล้ายด้านประวัติศาสตร์ อีกทั้งลักษณะที่งดงามขององค์พระ(พุทธศิลป์)นั้น จะเป็นสิ่งเสริมบารมีให้แก่ผู้สร้างและเสริมความสง่างามให้แก่พระพิมพ์นั้นๆ อาทิเช่น พระสมเด็จวัดระฆังของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) นั้น มีความสง่างามอันเนื่องด้วยมีสัดส่วนที่ลงตัวมากที่สุด ดังเช่น สัดส่วนทอง หรือโกลเด้นเซ็คชั่น (Golden section) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เกิดตามกฎแห่งความงามที่ชาวกรีกโบราณใช้มานาน ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของกระดาษเอ 4 หน้าจอทีวี จอโน๊ตบุ๊ค และอีกมากมาย สัดส่วนทองมีขนาดกว้าง 3 ส่วน และยาว 4 ส่วน จะย่อหรือขยายเท่าไหร่ก็ได้ เมื่อนำเอาพระสมเด็จวัดระฆังมาทาบกับสัดส่วนทองจะได้ขนาดพอดีกันอย่างมหัศจรรย์ ฉะนั้นอย่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพระสมเด็จวัดระฆัง จึงเป็นยอดแห่งจักรพรรดิของพระเครื่อง
 
       4. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นี่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการศึกษาคน จะแท้จะปลอมก็อยู่ที่ตัวคน ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดวาทกรรมว่า "แท้" หรือ "ปลอม" ผู้มีอิทธิพลในวงการจึงเป็นพระเจ้า(god) ที่จะตีพระแท้พระปลอมได้โดยไม่ต้องส่องพระ ถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งจะเห็นความเคลื่อนไหวของวงการพระที่ผูกติดอยู่กับการตลาดยุคโลกาภิวัตน์อย่างแนบแน่น เป็นธุรกิจเดียวที่มีกำไรมากที่สุดในโลก ซื้อมาร้อยอาจขายได้ถึงห้าสิบล้าน ฉะนั้น อิทธิพลของคนบางกลุ่มจึงเกิดขึ้น อย่าลืมว่า การศึกษาจากตำราและคำบอกเล่าของเซียนโบราณ ก็เป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่ง เป็นใบไม้ในกำมือเซียน แต่ใบไม้นอกกำมือเซียนนั้นมีอีกตั้งมากมาย ลองเปิดใจศึกษาให้ดีๆ เราจะเข้าใจบางสิ่งบางอย่างว่า กลุ่มใดอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลัง และกลุ่มใดมีพลังในการซื้อขายพระ(ธุรกิจ) ก็ย่อมสร้างวาทกรรมที่ผู้คนนอกกลุ่มต้องฝืนยอมรับ เมื่อเขาต้องการที่จะซื้อจึงจะบอกว่าแท้ หากเขาไม่ต้องการที่จะซื้อก็ย่อมจะบอกว่าไม่แท้เงินบวกจิตอกุศลหรืออัตตา เป็นตัวสร้างวาทกรรมที่ว่า “แท้” และ “ไม่แท้” รวมถึงการประกวดพระก็เช่นกัน ประกวดกันไปเพื่ออะไร รูปพระพุทธเจ้าที่อยู่ในองค์พระ เอามาล้อเล่นได้อย่างนั้นหรือ ลองพิจารณาดูให้ถ้วนถี่ แล้วท่านจะเห็นว่า เงินนั้นแหละที่อาจทำให้หลายๆคนเกิดกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
 
      5. ด้านวิทยาศาสตร์ ก็สำคัญไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่ เพราะการศึกษาทางด้านกายภาพ (Physical) ด้วยตาเนื้อ ด้วยกล้อง 10x หรือกล้องจุลทัศน์และเครื่องมือสมัยใหม่ จะทำให้เห็นมวลสาร ส่วนผสม แร่ธาตุต่างๆ และธรรมชาติความเก่าที่อยู่บนผิวพระ (Surface) องค์นั้นๆ แต่ถ้าเป็นพระที่มีอายุเก่านับพันปีขึ้นไป อาจใช้การตรวจคาร์บอนได้ หากต่ำกว่านั้นจะได้ค่าผิดพลาด (error) ถึง 80% เขาจึงไม่นิยมตรวจคาร์บอนในวัตถุที่มีอายุน้อย ในปัจจุบันจะมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาช่วยตรวจสอบหาเนื้อมวลสารได้ และยังสมารถตรวจสอบพลังออร่า (aura) และสเคลาร์ (scalar) เป็นต้น
      6. ด้านพลังพุทธานุภาพ ซึ่งเป็นเรื่องอจินไตย เป็นเรื่องเหนือโลก ที่กลุ่มเซียนส่วนใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลไม่ได้สนใจในด้านนี้ เพราะถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล อีกอย่างมันอาจไปเปิดเผยพระที่พวกเขาทำปลอมขึ้นมาก็ได้ ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติธรรมมีจำนวนมากขึ้น ผู้มีฌานสมาบัติก็มีมากขึ้น พระอริยเจ้าก็มี ผู้มีองค์เทพ องค์บารมีที่มีตาที่สามก็มีจำนวนมาก จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่า พระเครื่ององค์นั้นมีพลังพุทธานุภาพหรือไม่ ซึ่งนับเป็นวิธีการตรวจสอบว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอมที่เที่ยงแท้อีกวิธีหนึ่ง แต่ถ้าให้ดีท่านต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้รู้ให้เห็นด้วยตัวท่านเองเป็นปัจจัตตังจะดีที่สุด แล้วท่านจะเห็นสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นมากมาย ผู้ที่เชื่อในเรื่องพุทธานุภาพ จึงเป็นชนกลุ่มน้อย หรือ “เป็นพวกอกหัก”ในสายตาของเซียน ผู้มีบุญและตระกูลที่ครอบครองพระมาก่อนที่กลุ่มเซียนจะเกิด จึงกลายเป็นกลุ่มนอกกำมือเซียน ซึ่งที่จริงบุคคลกลุ่มนี้มีมากกว่ากลุ่มอิทธิพลตั้งหลายเท่า เพียงแต่ผู้มีบุญเหล่านั้นไม่ได้สนใจในวาทกรรมของเซียน เพราะพระดีที่ท่านมี เป็นเพียงเครื่องแสดงถึงบุญบารมีของผู้ครอบครองเท่านั้น
 
      7. ด้านจิตใจ จะอยู่ที่ตัวท่านว่าจะ "เปิด" หรือ "ปิด" ในการรับรู้ใบไม้นอกกำมือเซียน ถ้าปิดก็ย่อมไม่เชื่อ จึงไม่มีโอกาสได้รับพระแท้ที่หายาก ถ้าอยากได้พระแท้ตามเกณฑ์ของเซียนก็ต้องไปบูชาจากเซียนในราคาสูงๆ ถ้าเปิดก็ย่อมมีทั้งเชื่อและไม่เชื่อ จึงจะมีโอกาสได้รับพระแท้ราคาถูกอยู่บ้างตามบุญบารมี หรือถ้าเป็นพระปลอมแต่จิตของท่านก็ยังเคารพว่าเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือพระอริยเจ้าแท้ เมื่อศรัทธาพระ บารมีของพระท่านย่อมคุ้มครอง เช่น พระหลวงปู่ทวด พระสมเด็จวัดระฆัง พระวังหน้า พระวังหลัง พระกริ่งปวเรศ เป็นต้น แม้จะไม่ผ่านพิธีปลุกเสก แต่ดวงจิตของท่านจะมาสถิตอยู่ในพระของคนดีที่ศรัทธาท่านอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าท่านยึดพระเป็นตัวเงินเมื่อไหร่ ความทุกข์ก็จะตามมามากมาย ดังข้อความที่ผู้เขียนขอนำมาเป็นสติเตือนใจดังต่อไปนี้
      "คนคุ้มครองพระ" คือ เมื่อผู้ใดมีพระเครื่องที่ราคาแพงและหายาก มักจะเกิดความทุกข์ตามมาอาทิเช่น กลัวถูกปล้น ถูกขโมย จึงนำไปฝากธนาคาร หรือใส่ตู้เซ็ฟไว้ไม่นำติดตัวไปไหน ขอยกตัวอย่างความจริงที่เล่ากันมาว่า มีท่านหนึ่งมีพระสมเด็จวัดระฆังที่มีผู้รู้บอกว่าเป็นพระแท้และมีราคาแพงตามสภาพในขณะนั้น จึงนำไปฝากตู้เซ็ฟของธนาคารไว้ ต่อมาอีกหลายปีจึงนำออกมาจากธนาคารเพื่อไปปล่อยให้เซียนพร้อมกับหาคนคุ้มกันพระไปด้วย แต่เมื่อเซียนตีเป็นพระเก๊ก็ถึงกับเป็นลม อันนี้เรียกว่า คนคุ้มครองพระ เพราะมองพระเป็นเงิน จึงเกิดความทุกข์ตามมามากมาย

        "พระคุ้มครองคน" คือ เมื่อผู้ใดมีพระเครื่องราคาแพงและหายาก แต่ตัวเองได้มาราคาถูกหรือได้มาแบบปาฏิหาริย์ จึงเชื่อมั่นในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และศรัทธาว่าพระนั้นเสด็จมาเพื่อช่วยคุ้มครองตัวเองจากภัยอันตรายต่างๆ จึงนำติดตัวไปโดยไม่เกรงกลัวว่าพระจะอยู่หรือจะไป เพราะเชื่อว่า ถ้าพระองค์นั้นเป็นของเราและเรามีบุญแล้ว ก็ย่อมอยู่กับตัวเรา อันนี้จึงเรียกว่า พระคุ้มครองคน

       "พระเลือกคน" คือ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หรือผู้มีบุญ มักเจอเหตุการณ์และพบเห็นพระดีแบบมหัศจรรย์ เช่น มักมองเห็นพระองค์นั้นๆเด่นมาแต่ไกล พอจับจะมีพลังวิ่งเข้าสู่ตัวจนเกิดปีติ หรือดลใจให้ได้รับพระองค์นั้นๆด้วยวิธีแปลกๆ บางครั้งก็ได้ด้วยวิธีอธิษฐานจิต หรือได้รับมาด้วยราคาถูก เป็นต้น อันนี้เรียกว่า พระท่านทรงเลือกคน หรือคนดีจึงถูกพระเลือกนั่นเอง

       "คนเลือกพระ" คือ เกิดจากกิเลสของคนที่อยากได้พระองค์นั้นๆ จึงพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มา ไม่ว่าจะเป็นมุกของเซียนที่ตีพระของเขาปลอมแต่ลับหลังกลับหาวิธีให้ได้มา หรือยอมทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้มา จึงเกิดความทุกข์ตามมา บางครั้งจึงมักได้ข่าวว่าเซียนพระถูกตี ถูกฆ่า หักหลังกัน หรือเจ้าพ่อใหญ่ถูกยิงถล่มตายคาที่ทั้งที่ห้อยพระชุดเบญจภาคีราคาแพงก็ตาม นั่นเป็นเพราะกิเลสที่ทำให้คนผิดศีลธรรม แม้จะเป็นพระแท้แต่พระท่านไม่คุ้มครองคนชั่ว แม้บางคนจะร่ำรวยจากการซื้อขายพระโดยไม่สุจริตในภพนี้ แต่ในบั้นปลายหรือในภพหน้าก็มิอาจหลีกเลี่ยงกฎแห่งกรรมไปได้       

        อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการนำเสนอมุมมองหนึ่งที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้เข้าไปคลุกคลีกับวงการพระเครื่องของเมืองไทยในช่วงเวลาหนึ่ง จนเข้าใจในสภาวธรรมหรือสัทธรรมของสรรพสิ่งซึ่งล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และการสะสมพระเครื่องก็เป็นดังนั้นเช่นกัน ผู้เขียนได้เรียนรู้จากหลายๆแหล่ง จากกิเลสที่อยากมีอยากได้ นำไปสู่การค้นคว้าทั้งจากตำรา ผู้รู้ ผู้ไม่รู้ ของจริงของแท้ ของไม่จริงของไม่แท้ ผสมปนเปกันไป เสียเวลา เสียเงินไปก็มาก ได้รับทั้งพระแท้และพระปลอมคละเคล้ากันไปนับพันๆองค์ มีทั้งสุขและทุกข์ อยู่ในโลกอีกมิติหนึ่ง จนหลงเข้าไปสู่วงการพระเครื่องเกือบเต็มตัว ได้รับเกียรติไปบรรยายพระก็หลายครั้ง เห็นความทุกข์ของคนเล่นพระก็มาก(เกือบทั้งหมด) ซึ่งหนีไม่พ้นสองคำอมตะคือ "แท้" กับ "ไม่แท้"


       ในปัจจุบันเราต้องยอมรับกันว่า คติความเชื่อและการสร้างพระได้เปลี่ยนไปจากคติดั้งเดิมมาก ในอดีตท่านผู้สร้างพระมีเจตนาเพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา จึงไม่ได้ผูกติดกับการตีค่าเป็นเงินตรา แต่ในกาลปัจจุบัน ผู้คนได้แปรค่าจากอริยทรัพย์(บุญฤทธิ์) ไปเป็นโภคทรัพย์(เงิน)เรียบร้อยแล้ว จึงไม่แตกต่างอะไรกับสินค้าชนิดหนึ่ง ผู้เขียนจึงอยากให้ท่านทั้งหลาย ลองกลับมาพิจารณาให้ดีว่า เราควรแสวงหาพระดีๆสักองค์ เพื่อเป็นสิ่งมงคลหรือเป็นอริยทรัพย์ เพื่อช่วยปรับภูมิภายในของผู้แขวนให้มีความเป็นอริยทรัพย์ไม่ดีกว่าหรือ เมื่อผู้ใดมีศีลและความเป็นอริยทรัพย์ภายในดีแล้ว คลื่นพลังงานดีย่อมแผ่ออกมาดึงดูดโภคทรัพย์ภายนอก ให้หลั่งไหลเข้ามาสู่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หรือหากท่านมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน หรือมีหลายๆองค์ ก็อาจขออนุญาตและขอพระบารมีพระองค์นั้นๆ เพื่อแบ่งให้ผู้อื่นเช่าก็ย่อมได้ แต่ขอให้กระทำด้วยจิตอันเป็นกุศล ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ และตามบุญบารมี ท่านจึงจะไม่เกิดความทุกข์ หากได้เงินหรือปัจจัยมาก็ขอให้แบ่งไปทำบุญ แล้วอุทิศให้แก่องค์ผู้สร้าง ตลอดจนเทวดาผู้รักษาพระองค์นั้นๆด้วย จึงจะนับว่า เป็นการสะสมพระที่ถูกทาง และถูกต้อง แล้วท่านจะได้รับแต่สิ่งดีๆ อย่างคาดไม่ถึงการศึกษาตามแบบของนักปฏิบัติธรรมและนักวิชาการ จึงเป็นการศึกษาแบบนอกกำมือเซียนแล้วท่านหละจะเลือกแบบใด

 
ตอนที่ 2
การศึกษาทางด้านวิชาการ
 
การศึกษาพระพิมพ์เนื้อผงสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น จำเป็นจะต้องศึกษาให้ครบทุกด้านทั้งเรื่อง วัฒนธรรมและความเชื่อ (Culture and Belief) ประวัติศาสตร์ (History) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) พุทธศิลป์ (Amulet Art) วิทยาศาสตร์ (Science) และพลังพุทธานุภาพ (Power of mind) เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้ที่ถูกต้อง เปิดใจให้กว้าง อย่าเชื่อจากคำบอกเล่า อย่าเชื่อเซียน อย่าเชื่อหนังสือเล่มหนึ่งเล่มใด หรือแม้กระทั่งบทความของผู้เขียนที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี่ก็ตาม เพราะหากมีองค์ความรู้ที่สืบค้นได้ใหม่ มันจะมาทดแทนความรู้เก่าในภายหลัง นี่คือความจริงทางด้านวิชาการที่สากลยอมรับ บทความนี้จึงเป็นการเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไป แม้จะยังมิใช่ข้อสรุป แต่ก็พอจะเป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษามือใหม่ได้เข้าใจมากขึ้น 
 

พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อผงแก่น้ำมันผสม (Linseed) ยุคกลางของหลวงปู่โต 
รัศมีรังสีเป็นสีแดงและม่วง ดูด้วยญาณในของบุคคลพิเศษ
 
 
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เนื้อปูนแกร่ง วรรณะสีขาวมันวาว
 
อนึ่ง ผู้เขียนขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านให้ตรงกันว่า การศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังนั้น เป็นการศึกษาจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรมคือ ตัวขององค์พระพิมพ์ เพื่อไปอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมคือ ความเชื่อว่าแท้และศักดิ์สิทธิ์ มันจึงเป็นการยากที่จะสรุปว่า ข้อเขียนของผู้ใดถูกต้องและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะแม้แต่ข้อเขียนของเซียนโบราณที่ผ่านมา ก็เชื่อถือได้เป็นบางส่วน เนื่องจากเป็นเพียงการสรุปความคิดเห็นเท่าที่เขาเคยมีและประสบมาเท่านั้น เหตุใดผู้คนในยุคปัจจุบัน จึงยังคงเชื่อแค่คำบอกเล่าหรือจากภาพเก่าๆ ที่ตีพิมพ์ซ้ำซาก แถมบางคนยังจำกัดความว่า พระสมเด็จมีอยู่แค่นั้นแค่นี้ ทั้งที่จริงยังมีพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่กับชาวบ้านหรือผู้มีบุญ (ขอย้ำผู้มีบุญ) อีกจำนวนมาก มีหลายพิมพ์ หลายเนื้อ หลายสภาพ แถมยังมีความสมบูรณ์และสวยงามมากอีกด้วย อย่าลืมว่า แม้แต่เซียนโบราณเองก็เกิดไม่ทันองค์สมเด็จโต ฉะนั้น ผู้เขียนจึงขอเพิ่มเติมแนวทางการศึกษาดังต่อไปนี้


 
ด้านวัฒนธรรมและความเชื่อ
การศึกษาด้านวัฒนธรรมได้แก่ ความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และประเพณีนิยมของผู้สร้าง จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ (2550) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดีของไทย ได้บรรยายในชั่วโมงเรียนระดับปริญญาเอกของผู้เขียน เกี่ยวกับสารัตถะในการสร้างศาสนศิลป์ว่า... 1) สร้างเพื่อประเพณีนิยม ค่านิยม 2) สร้างเพื่อเป็นสิ่งชักจูงให้คนศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา 3) เพื่อเป็นสื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อพระพุทธธรรม 4) เพื่อเป็นสื่อในการจรรโลงจิตใจทางอุดมคติ ความจริง ความดี ความงาม เป็นอุดมคติคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องสว่าง สงบ สะอาด 5) เป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์และศาสนิกชน... ดังจะเห็นได้จากประเพณีการสร้างพระพิมพ์ในยุคต่างๆ เช่น ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 นิยมสร้างพระพิมพ์ดินเผาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมาใน สมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 มีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบ สันนิษฐานว่า คงสร้างขึ้นตามประเพณีนิยมในลัทธิมหายาน เมื่อมีการเผาศพพระเถระที่มรณภาพหรือบุคคลที่ตายแล้ว เอาอัฐิธาตุคลุกเคล้ากับดินแล้วพิมพ์ออกมาเป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ไว้เป็นพระพิมพ์ดินดิบ และไม่นิยมนำมาเผาซ้ำอีกเพราะถือว่าได้เผาแล้ว ล่วงมาถึงสมัยอยุธยาก็ยังคงสร้างพระพิมพ์เพื่อพุทธศาสนาหรือเพื่อการทำบุญ... สิ่งที่ยืนยันให้เห็นว่า เป็นเรื่องของการทำบุญได้ดีก็คือ มีกล่าวในศิลาจารึกในสมัยอยุธยาว่า สร้างพระเท่าจำนวนวันเกิดแล้วฝังในเจดีย์เป็นต้น (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2537: 79)... นอกจากนั้น ยังมีพระพิมพ์ที่บรรจุกรุต่างๆ อีกมากมาย เช่น พระตระกูลลำพูน สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา มหาสารคาม ฯลฯ ล้วนมีคตินิยมในการสร้างพระเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
 
ส่วนการสร้างพระพิมพ์ในยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น มีวัตถุประสงค์ในการสร้างก็เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหลัก มิใช่สร้างเพื่อการค้าหรือเรี่ยไรเงินแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุกรุในสถานที่ต่างๆ เช่น กรุวัดระฆัง กรุวัดชีปะขาว กรุวัดตะไกร กรุวัดบางขุนพรหม กรุวัดเกศไชโย กรุพระธาตุพนมจำลอง(วังหน้า) ฯลฯ แต่ละแห่งน่าจะถูกสร้างให้ได้จำนวน 84,000 องค์ตามพระธรรมขันธ์ 
 
“มูลเหตุที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระพิมพ์ขึ้นนั้น สืบเนื่องมาแต่ท่านได้ปรารภถึงพระมหาเถระในปางก่อนว่า มักสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในปูชนียวัตถุสถาน มีพระเจดีย์เป็นต้น เพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยถือว่าเมื่อต่อไปข้างหน้าช้านานถึงพระเจดีย์วิหารจะสูญไป ใครไปขุดพบพระพิมพ์ก็จะได้เห็นพระพุทธรูป รู้ว่าพระพุทธเจ้าเคยมีเคยได้โปรดสัตว์ในโลกนี้ ชวนให้ระลึกถึงพระพุทธคุณต่อไป ท่านปรารถนาจะประพฤติตามคตินั้น จึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวนมาก” (พระครูปลัดสมคิด สิริวฑฒโน.2550:66) 
นอกจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จะได้สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุกรุต่างๆดังกล่าวแล้ว ท่านยังสร้างพระพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระสมเด็จวังหน้าหรือสมเด็จเบญจรงค์ ปี พ.ศ. 2412 ที่นำไปบรรจุกรุในวัดพระแก้วในภายหลังอีกเป็นจำนวนมาก (มิใช่มีแค่สองพันกว่าองค์ตามที่กลุ่มเซียนสร้างวาทกรรมไว้) เพื่อไว้แจกจ่ายกับผู้มีบุญ ซึ่งต่อมาพระสมเด็จที่สร้างไว้ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสมเด็จชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า “สมเด็จเขียว” ให้กับประชาชนในช่วงเกิดโรคอหิวาต์ระบาด หรือที่เรียกว่าปีระกาป่วงใหญ่ ปี พ.ศ. 2416 และบางส่วนนำออกมาแจกจ่ายในช่วงสงคราม ก็เพื่อให้ผู้ที่ได้ครอบครองได้พ้นจากเภทภัยต่างๆ หรือในช่วงสงบก็ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น แต่กลุ่มบุคคลในภายหลัง ได้นำเอาพระพิมพ์ของท่านมาแปรสภาพเป็นสินค้า รวมทั้งมีการปลอมแปลง สร้างวาทกรรมบิดเบือนความจริง บอกพระแท้เป็นพระปลอม สร้างพระปลอมเป็นพระแท้ และปิดกั้นผู้อื่น เพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มตน จึงกลายเป็นประเพณีนิยมในการสร้างพระต่างๆ ตามมามากมายในปัจจุบัน มิหนำซ้ำการที่ตัวเองรู้ว่า พระองค์นั้นแท้ แต่กลับไปบอกว่าเป็นพระปลอม ก็เท่ากับเป็นการไปดูถูกเหยียดหยามหรือลดค่าความเป็นพระอันบริสุทธิ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) “ลงไปต่ำสุด” นั่นเป็นเพราะเงินหรือกิเลสได้เข้าครอบงำกับบุคคลเหล่านั้น ผลที่ตามมาก็คือ พวกเขาต้องรอวันที่แผ่นดินจะเอาคืน



 
พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อเขียวชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ร.5 นำมาแจกประชาชนในภายหลัง
พระองค์นี้ค้นพบพร้อมกันกับพระสมเด็จเนื้อผงใบลาน ดังบทความตอนที่ 3
 
 
 
พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อผงใบลานชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ร.5
พระองค์นี้ค้นพบพร้อมกันกับพระสมเด็จเนื้อเขียวชนิดปรกเมล็ดโพธิ์องค์บน
 
 
ในช่วงปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า เริ่มมีพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ หลายเนื้อ หลายสภาพ ปรากฏขึ้นมามาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มีบุญหรือผู้ที่ปฏิบัติธรรม ผู้มีบุญและผู้ศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็มักจะได้เห็นและได้ครอบครองพระสมเด็จด้วยวิธีแปลกๆ อย่างไม่คาดฝัน โดยเฉพาะผู้ที่สวดพระคาถาชินบัญชรมานาน และว่ากันว่า นับจากปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ถือเป็นช่วงกึ่งกลางของพุทธศาสนา ที่บรรดาเทพทั้งหลาย ต้องลงมาดูแลพระพุทธศาสนาต่อจากพระสงฆ์ ตามที่อาสาไว้เมื่อครั้งพุทธกาล และยังเชื่อกันว่า ในช่วงนับจากปี พ.ศ. 2555-2560 จะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตหนักของมวลมนุษยชาติ ทั้งการรบราฆ่าฟันกันระหว่างผู้ที่มีจิตหยาบชั่ว สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม และโรคแปลกๆ จะมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก จะเกิดการโกลาหล ซึ่งความวุ่นวายทั้งหมด ล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ใจหยาบทั้งสิ้น เค้าลางแห่งหายนะก็เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์กันบ้างแล้ว 
ในพุทธทำนายบางส่วน และคำทำนายขององค์อภิญญาต่างๆ ยังพบว่า ในช่วงกึ่งกลางพระพุทธศาสนา นับต่อนี้ไปไม่กี่ปี จะเป็นช่วงเวลาของการคัดเซ็นมนุษย์ ผู้ที่มีจ

สถาบัน ศึกษาวิจัยพระเครื่อง แห่งประเทศไทย

 
     ... สวัสดีครับ ผู้ที่ชื่นชอบ พระสมเด็จวัดระฆัง และพระเครื่องไทย ผมในนามของ สถาบันศึกษาวิจัยพระเครื่อง แห่งประเทศไทย รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ เราได้มีการจัดตั้งสถาบันฯ แห่งนี้ขึ้นมา ก็ด้วยเหตุผลที่มีความต้องการให้พระเครื่องของไทย มีความชัดเจนในเรื่องของการพิสูจน์ ตรวจสอบ คุณสมบัติที่เป็นองค์ประกอบโดยรวมของพระเครื่อง ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี และคณะทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุป หรือ ผลลัพธ์ ของพระเครื่องประเภทต่าง ๆ  ที่มีความเป็นจริง และถูกต้องแม่นยำในกรอบของวิชาการ ที่สามารถใช้ยืนยันและอ้างอิงได้  เพื่อพระเครื่องของคนไทย จะได้มีมาตรฐานที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ถูกบิดเบือน ไปจากประวัติศาสตร์  และยังก่อให้เกิดความมีคุณค่าของพระเครื่องไทย ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ตลอดจนส่งเสริมให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าทางพระพุทธศาสนา ของชนชาวไทยและลูกหลานสืบต่อไป  
... อาจารย์ปู่ ...  ผู้อำนวยการ สถาบัน ศึกษาวิจัยพระเครื่อง แห่งประเทศไทย
 
โดย Putanarinton - เมื่อ 14 กันยายน 2557
  ชอบ 1  /  เข้าชม 1618470  /  ความคิดเห็น 4
ดูข้อมูลต่อ

 แสดงความคิดเห็น


(รองรับไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg, .png, .gif)